กลัวผีจนขึ้นสมอง หรือ อาการทางจิต?


หลายท่านอาจเคยได้ยินชื่อเกี่ยวกับ โรคกลัว (Phobia)


โรคกลัว (Phobia) จัดเป็นความผิดปกติทางจิตเวชอย่างหนึ่ง มีอาการกลัวขั้นรุนแรงกว่า Fear(อาการหวาดกลัวหรือตกใจ) มีความกลัวที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ และไม่สมเหตุสมผลเมื่อได้เผชิญกับสิ่งหรือสถานการณ์ที่กลัว ทำให้พยายามหลีกเลี่ยงไม่ยอมเผชิญกับสิ่งที่ทำให้เกิดความกลัว
จิตแพทย์ได้แบ่งอาการของโรคกลัวเป็น 3 ชนิด
1 เป็นอาการกลัวเฉพาะอย่าง (Specific phobia) เช่น กลัวสัตว์ กลัวที่แคบๆ หรือกลัวที่สูง
2 เป็นการกลัวกิจกรรมเกี่ยวกับสังคม (Social phobia) เช่น การพูดคุยกับผู้อื่น การพูดหน้าชั้นเรียน
3 เป็นการกลัวอยู่ในที่ชุมชนหรือที่โล่งแจ้ง (Agoraphobia) ในกรณีนี้ผู้ป่วยจะกลัวสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก กลัวการออกนอกบ้าน ฯลฯ

โรคกลัว (Phobia)นั้นมีเยอะมากๆถ้าจะว่ากันจริงๆ จึงขอเอามาแค่เกี่ยวกับอาการกลัวผีเท่านั้น
Phasmophobia โรคกลัวผี
Thanatophobia โรคกลัวความตาย
Wiccaphobia โรคกลัวแม่มด
Thanatophobia โรคกลัวความตาย
Triskaidekaphobia โรคกลัวเลขอาถรรพ์ เช่น เลข13
Satanophobia โรคกลัวซาตาน
Samhainophobia โรคกลัววันฮัลโลวีน
Placophobia โรคกลัวป้ายหลุมศพ
Pediophobia โรคกลัวตุ๊กตา
Paraskavedekatriaphobia โรคกลัววันศุกร์ที่13
Hagiophobia โรคกลัวสิ่งศักดิ์สิทธิ์
Hadephobia โรคกลัวนรก
Demonophobia โรคกลัวปิศาจ
Achluophobia โรคกลัวความมืด
Sciophobia โรคกลัวเงา
Uranophobia โรคกลัวสวรรค์
Noctiphobia โรคกลัวกลางคืน
chiroptophobia โรคกลัวแวมไพร์
ในวัยเด็กหลาย ๆ คนจะคิดไปต่าง ๆนา ๆ ว่าในความมืดนั้นมีสัตว์ประหลาดอยูุ่(แต่ในไทยคงจะเป็นผี....) ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้เจอกับตัวเองเลย เมื่อเด็ก ๆ เหล่านั้นเติบโตขึ้นมาพร้อม ๆ กับความกลัว ไม่มีเหตุผล หรือ Achluophobia มักจะประสบปัญหา กังวล หงุดหงิด นอนไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือ พวกเขาจะไม่สามารถทำงานหรือมีชีวิตได้ปกติหรือสมบูรณ์..

โรคกลัวเหล่านี้นั้นสามารถรักษาให้ได้โดยพบจิตแพทย์ครับ แต่ส่วนใหญ่นั้นจะพยามหลีกเลี่ยงหรือเผชิญกับสิ่งที่กลัวและอาจไม่ได้มีผลต่อชีวิตประจำวันเท่าไหร่นักจึงคิดว่าไม่มีความจำเป็นในการรักษา 
แต่ถ้าหากความกลัวเหล่านี้มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมากและเรื้อรังแล้วล่ะก็อาจนำไปสู่อาการข้างเคียงได้อย่างโรคซึมเศร้าได้ ควรหาทางรักษาก่อนจะเรื้อรังดีกว่าครับ

และอีกสาเหตุหนึ่งที่ไม่ยอมรับการรักษาเพราะคิดว่าการพบจิตแพทย์นั้นต้องเป็นบ้า จริงๆแล้วไม่ใช่ครับการเข้าพบจิตแพทย์นั้นไม่ได้หมายความว่าคุณบ้า แต่เป็นการพูดคุยเพื่อหาวิธีรักษาในอาการกลัวนั้นๆต่อไป เราควรเปลี่ยนความเข้าใจสะใหม่ด้วยครับ

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม