ย้อนตำนาน super famicom [Retrogame]

Super Famicom



Super Famicom เป็นเครื่องเล่นเกมวิดีโอเกมคอนโซลต่อทีวีชื่อดังของ Nintendo ที่ประสบความสำเร็จในยุค 1990 ถึง 1999 โดยเป็นรุ่นต่อยอดของ Family Computer (Famicom) หรือ Nintendo Entertainment System (NES)  ที่ประสบความสำเร็จในยุค 1980 ถึง 1990
โดยใช้ชื่อ Super Famicom ในญี่ปุ่น และใช้ชื่อ Super Nintendo Entertainment System (SNES) ในอเมริกา
Super Famicom จัดว่าเป็นหนึ่งในเครื่องเล่นเกมคอนโซลยอดนิยมที่สำคัญของยุค 16 bit ที่มีภาพกราฟิกและเสียงที่ดีกว่าเครื่องเล่นเกมคอนโซลยุค 8 bit เป็นอย่างมาก 

Super Famicom ถูกพัฒนาโดยบริษัท Nintendo Co., Ltd. นำโดย Masayuki Uemura วิศวะกรและนักออกแบบชื่อดังผู้ล่วงลับ ที่ฝากผลงานไว้มากมาย เช่น Famicom 
Masayuki Uemura เกิดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 ในจังหวัดอิบารากิ ญี่ปุ่น เขาได้เรียนจบวิศวกรรมไฟฟ้า และทำงานในบริษัท Hitachi ก่อนเข้าทำงานที่ Nintendo เมื่อปี ค.ศ. 1972 ในตำแหน่งวิศวกรรมด้านฮาร์ดแวร์ และในปี 1981 เขาได้รับมอบหมายจาก Hiroshi Yamauchi ประธานบริษัทในขณะนั้นให้เข้าร่วมในทีมพัฒนาเครื่องเล่นเกมวิดีโอเกมคอนโซลของ Nintendo ที่สามารถเชื่อมต่อกับทีวีได้อย่าง Family Computer ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก 
เนื่องจากความสำเร็จของ Famicom ในปี 1988 บริษัท Nintendo จึงต้องการสานต่อคอนโซลยุคต่อไปโดยนำ Masayuki Uemura มานำทีมพัฒนาเครื่องเกมต่อทีวีรุ่นใหม่นั้นก็คือ Super Famicom

ภายหลัง Masayuki Uemura ได้ลาออกจาก Nintendo ในปี 2004 ก่อนที่จะเสียชีวิตในวันที่ 6 ธันวาคม 2021

Super Famicom เปิดตัวครั้งแรกในญี่ปุ่นปี 1990 ก่อนจะเข้าสู่สหรัฐอเมริกาและภูมิภาคอื่นๆในปี 1991 มียอดขายรวมกว่า 49.1 ล้านเครื่อง
(ซ้ายเป็นเครื่องโซนญี่ป่น ขวาเป็นโซนอเมริกา)

ขนาดตัวเครื่อง Super Famicom มีขนาดประมาณ 200 x 300 x 100 มม. (ยาว x กว้าง x สูง) โดยมีน้ำหนักประมาณ 1.4 กิโลกรัม

สเปกเครื่อง
Super Famicom หรือ SNES ใช้ CPU ชื่อว่า Ricoh 5A22  มีความเร็ว 3.58 MHz  ที่พัฒนามาจาก Western Design Center เป็นรุ่นอัพเกรด 16 บิตของ MOS Technology 6502 ซึ่งเป็น 8 บิต
ซึ่งใช้ ISA ขนาด 16 บิต และมี register และ ALU ขนาด 16 บิต 
external data bus ขนาด 8 บิต ซึ่งต้องใช้ 2 cycle ในการย้ายข้อมูลไปยังหน่วยความจำภายนอกเนื่องจาก internal data bus มีขนาด 16 บิต และใช้วิธีการแบ่งเวลาในการเข้าถึงหน่วยความจำภายนอก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของระบบเกม โดยการทำงานทั่วไปแล้ว 
A Bus มีขนาด 24 บิตและเป็น bus ที่ใช้สำหรับการสื่อสารกับตลับเกมส์ หน่วยความจำแบบเร็ว (WRAM) และ CPU
B Bus มีขนาด 8 บิตและเป็น bus ที่ใช้ควบคุมโดย S-PPU ซึ่งเป็นส่วนของภาพและกราฟิก และใช้สำหรับการสื่อสารกับตลับเกมส์ หน่วยความจำแบบเร็ว (WRAM) และ Audio CPU ซึ่งเป็นเสียงของเกมส์

Graphics 

ใช้Graphics ที่เรียกว่า S-PPU (Super Picture Processing Unit) ภาพมีความละเอียดอยู่ที่ 256x224 pixel
จะใช้ PPU สองตัวโดย S-PPU ประกอบด้วยสองส่วนหลักๆ ได้แก่
Background (BG) Layer: ใช้สำหรับแสดงผลพื้นหลังของเกม โดยสามารถแบ่งเป็น 4 ชั้น โดยแต่ละชั้นสามารถใช้สีได้ 256 สี
Object Attribute Memory (OAM) Layer: ใช้สำหรับแสดงผลวัตถุภายในเกม โดยสามารถแสดงได้สูงสุด 128 วัตถุในหนึ่งช่องจอ โดยแต่ละวัตถุจะมีขนาด 8x8 หรือ 16x16 พิกเซล และสามารถแสดงสีได้สูงสุดถึง 16 สีต่อวัตถุ

นอกจากนี้ S-PPU ยังมีฟังก์ชันต่างๆ เช่น การสร้างเอฟเฟกต์ภาพ (Graphic Effects) เช่นการขยายขนาดวัตถุหรือการหมุนภาพ การแสดงผลต่างๆ และการควบคุมหน่วยความจำกราฟิก (VRAM) เพื่อให้มีการแสดงผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองได้รวดเร็ว

Audio

ระบบเสียงที่สามารถสร้างเสียงได้ถึง 8 ช่อง โดยใช้ SPC700 ซึ่งเป็นชิปเสียงที่ถูกออกแบบโดยบริษัท Sony โดยมีลักษณะเด่นดังนี้
8 ช่องเสียง: ระบบเสียงของ Super Famicom สามารถสร้างเสียงได้ถึง 8 ช่อง โดยแต่ละช่องสามารถเล่นเสียงได้หลายแบบ เช่น โทนพื้นฐาน, สัญญาณเสียงที่ถูกแปลงจากสัญญาณดิจิทัล, การเล่นเสียงที่ถูกบันทึกไว้ล่วงหน้า และอื่นๆ
ระบบออกเสียงที่ซับซ้อน: SPC700 สามารถสร้างเสียงที่ซับซ้อนได้โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น การใช้สัญญาณเสียงแบบ FM synthesis, การใช้ตัวกรองความถี่ (filter) เพื่อปรับคุณภาพเสียง การเล่นเสียงที่มีการต่อเนื่อง (envelope) เพื่อปรับระดับความดังของเสียง และอื่นๆ
การใช้งานร่วมกับ CPU: SPC700 สามารถทำงานร่วมกับ CPU ของ Super Famicom โดยใช้ระบบ DMA (Direct Memory Access) เพื่อถ่ายโอนข้อมูลเสียงไปยังหน่วยความจำของเครื่อง เพื่อทำการเล่นเสียง
การเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก: Super Famicom ยังสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก เช่น ลำโพง หรือเครื่องเสียงอื่นๆ เพื่อขยายความสามารถในการสร้างเสียงได้อีกด้วย

Controller

Super Famicom Controller หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "スーパーファミコンコントローラー" ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับจอยของ NES แต่มีการปรับปรุงรูปทรงและฟีเจอร์เพิ่มเติมให้ดีกว่า 
มีทั้งหมด 12 ปุ่ม ประกอบด้วย A, B, X, Y, L, R, Start, Select และ 4 ปุ่มหน้าจอย
มีสีที่สวยงามและมีการออกแบบให้มีความสะดวกสบายในการถือ
มีสายคอนโทรลที่ยาวพอสมควรให้ผู้เล่นสามารถนั่งเล่นได้ห่างจากทีวีได้มากขึ้น

Game 

ตลับเกมส์มีขนาดประมาณ 84 มม. x 105 มม. และความหนาประมาณ 15 มม.
เขียนเกมส์ด้วยภาษา 65816 assembly ที่ยังนิยมในยุคนั้น เมื่อเทียบกับภาษาเช่น C ที่ยังไม่ได้นิยมในช่วงนั้นอย่างปัจจุบัน ภาษา assembly ใช้สัญลักษณ์ (symbol) ที่เข้าใจได้ง่ายกว่า และใช้เวลาน้อยกว่า ซึ่งเหมาะสำหรับการพัฒนาเกมส์ของเครื่อง SNES โดยตัวอย่างเกมส์ที่เขียนด้วย 65816 assembly ได้แก่ Super Mario World, The Legend of Zelda: A Link to the Past, Chrono Trigger, Final Fantasy VI, และ Secret of Mana 


อุปกรณ์เสริม

Super Multitap

เป็นอุปกรณ์เสริมที่ช่วยเพิ่มจำนวนผู้เล่นที่เล่นเกมส์พร้อมกันได้มากขึ้น จาก 2 คนเป็น 4 คน หรือ 6 คน

Super Scope

เป็นปืนบาซูก้าครับ ใช้งานกับเกมส์บน Super Famicom แบบระบบเดียวกันกับ NES Zapper

SNES Mouse

เป็นเมาส์ที่ใช้งานบน Super Famicom 

Super Game Boy

เป็นอุปกรณ์เสริมที่ช่วยให้สามารถเล่นเกมส์ตลับ Game Boy บนเครื่อง Super Famicom ได้

Satellaview


คือโมเด็มต่ออินเตอร์เน็ตดาวเทียม โดยต้องต้องติดตั้งจานดาวเทียมก่อน ไว้เพื่อการดาวโหลดเกมหรือเนื้อหาอื่นๆ ในยคนั้น

Game Genie 

เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนแปลงและปรับแต่งคุณสมบัติของเกมได้ คือหมายถึงการโกงเกมนั้นแหละครับ



อ้างอิงข้อมูลจาก https://tantatorn.medium.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-super-nintendo-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2-5c5d0ab1dca3


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม