10 ประเทศที่ไม่มี กองกำลังทหาร


10 ประเทศที่ไม่มีทหารแม้แต่นายเดียว ในประเทศเหล่านี้ คำว่า " อาชีพรับราชการทหาร " ไม่มีอยู่ในสารระบบ ซึ่งเหตุผลของความแปลกแตกต่างจากประเทศเพื่อนฝูงส่วนใหญ่ ก็ต่างกันไปทั้งในเรื่องของความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศ และอื่นๆ
อ้าวแล้วถ้าเกิดสงครามล่ะ? ไม่ต้องห่วงครับประเทศเหลี้ล้วนมีแบบแผนอยู่แล้ว


1 นครรัฐวาติกัน ประเทศที่เล็กที่สุดในโลก
บางคนอาจจะไม่ค่อยประหลาดใจนัก กับการที่วาติกันไม่มีกองทัพ เพราะวาติกันเป็นนครศาสนา แต่ว่าในอดีต ก็ใช่ว่าวาติกันจะไม่เคยมีกองทัพเอาเสียเลย สมัยก่อนก็เคยมีการจัดตั้งกองกำลังที่ทำหน้าที่ปกป้องวาติกันและพระสันตปาปาด้วย อย่าง Noble Guard และ Palatine Guard แต่โป๊ป Paul VI ได้สั่งเลิกไปในปี 1970 ปัจจุบัน ตัวอย่างที่ดีที่สุดที่น่าจะแสดงถึงการเคยมีกองกำลังทางทหารของวาติกัน ก็น่าจะเป็น  Pontifical Swiss Guard ที่ทำหน้าที่ปกป้องโป๊ป และ  Palace of the Vatican นอกจากนั้นก็ยังมี Gendarmerie Corps แต่รายหลังนี้ ถูกมองว่าเป็นกองกำลังพลเรือนมากกว่าที่จะเป็นทหาร โดยพวกเขาทำหน้าที่รักษาความเรียบร้อย ควบคุมการจราจร พรมแดน และสอบสวนกิจกรรมอาชญากรรม

ส่วนคำถามที่ว่า แล้วใครเป็นคนดูแลปกป้องวาติกันในยามสงคราม คำตอบก็คือเนื่องจากวาติกันอยู่ในกรุงโรม เมืองหลวงของอิตาลี อิตาลีจึงรับผิดชอบเรื่องนี้ไปเต็มๆ 
 


2 นาอูรู 
ประเทศเกาะที่เล็กที่สุดในโลก นอกจากความเล็ก เพราะมีพื้นที่แค่ 8.1 ตารางไมล์ เกาะนี้ยังมีความไม่เหมือนใครในหลายๆด้าน และหนึ่งในนั้นก็คือเรื่องการไม่มีกองทัพ และเพราะความเล็ก นอกจากจะไม่มีกองทัพแล้ว ก็ยังไม่มีเมืองหลวงอีกต่างหาก ผู้ทำหน้าที่ดูแลรักษาเสถียรภาพในประเทศก็คือตำรวจ นาอูรูตั้งอยู่ในกลุ่มของเกาะเล็กๆหลายพันเกาะที่เรียกกันว่า Micronesia และทำมาหากินโดยการขุดแร่ฟอสเฟตออกขาย
อ้าวแล้วถ้าเกิดสงครามล่ะ?
ผู้ที่ทำหน้าที่ปกป้องนาอูรู ในยามที่ถูกรุกรานก็คือออสเตรเลีย เพราะมีการตกลงอย่างไม่เป็นทางการระหว่าง 2 ประเทศในเรื่องนี้ และในปี 1940 เมื่อเยอรมนีโจมตีนาอูรูในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ออสเตรเลียก็เคยถูกเรียกให้มาช่วย
  


3 ลิกเตนสไตน์
ประเทศนี้ยุบกองทัพไปในปี 1868 ในช่วงหลังสงครามออสเตรีย - ปรัสเซีย เพราะเห็นว่าการมีกองทัพเป็นอะไรที่ทำให้ประเทศมีค่าใช้จ่ายมาก โดยหลังจากประเทศแยกออกมาจากสหพันธรัฐเยอรมัน ประเทศก็ต้องดูแลกองทัพด้วยตนเอง แต่ปรากฏว่าประเทศไม่มีงบประมาณมากพอ ก็เลยยุบกองทัพไป ปัจจุบันประเทศก็เลยมีแต่หน่วยงานตำรวจ ที่เรียกว่า Principality of Liechtenstein National Police ที่คอยดูแลความสงบเรียบร้อย
 ในกรณีที่เกิดสงคราม ไม่มีการตกลงชัดเจนว่าใครจะมาช่วยประเทศนี้ป้องกันประเทศ ในกรณีสงคราม ระบุว่าประเทศอาจจัดตั้งกองทัพได้ ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าสวิตเซอร์แลนด์และออสเตรียอาจจะส่งทหารมาช่วยเพราะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันในด้านประวัติศาสตร์และเชื้อชาติ
  


4 สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์
เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งอยู่ทางเหนือของประเทศนาอูรูและประเทศคิริบาส ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศไมโครนีเซียและอยู่ทางใต้ของเกาะเวกของสหรัฐอเมริกา
ภายใต้สนธิสัญญา Compact of Free Association ปี 1983 หมู่เกาะมาร์แชลล์ เป็นประเทศที่มีอธิปไตย หมายความว่า อันมีอิสระในการปกครองตนเอง แต่ภายใต้สนธิสัญญานี้ ก็ระบุให้มันมีสถานะเป็นรัฐแบบ associated states ของสหรัฐด้วย ซึ่งหมายความสหรัฐมีสถานะเป็นผู้อารักขาจึงไม่มีกองทัพ ในช่วงสงคราม ประเทศก็จึงไม่มีความรับผิดชอบในการปกป้องประเทศ งานด้านการป้องกันประเทศและความมั่นคงเหล่านี้จะเป็นของสหรัฐ
   


5 เกรนาดา
ถ้าว่ากันจริงๆต้องค.ศ. 1498 โคลัมบัสได้ค้นพบดินแดนแห่งนี้  เดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมืองอินเดียเผ่าแคริบ (Carib) และอาราวัก (Arawaks ทำให้ตกอยู่ในมือของนักล่าอณานิคมและเปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ สเปน ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร
แต่เกิดการปฏิวัติขึ้นในทุกครั้งเรื่อยมา จนปี 1983 การก่อรัฐประหาร และการแย่งชิงอำนาจภายในรัฐบาล ทำให้กองทัพสหรัฐอเมริกาต้องเข้ามาแทรกแซงประเทศในแถบแคริบเบียนเพื่อสร้างเสภียรภาพทางการเมืองในเกรเนดาทำให้เกรนาดาที่มีแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ในตอนนั้น กลับมาเป็นประเทศประชาธิปไตย แต่มันก็ทำให้ประเทศไม่มีกองทัพไปด้วย ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยก็คือ ตำรวจ และองค์กรที่เรียกว่า  Regional Security System ที่เป็นกลุ่มการรวมตัวทางทหารของประเทศหมู่เกาะเล็กๆในภูมิภาคกันของ  Antigua and Barbuda, Barbados, Dominica, Saint Kitts and Nevis, Saint Lucia, และ Saint Vincent and the Grenadines
 กรณีที่เกิดสงคราม ไม่มีการกำหนดชัดเจนว่าใครจะมาช่วยเหลือเกรนาดา ประเทศ
อาจจะขอความช่วยเหลือจาก Regional Security System
และก้อคงไม่พ้นความช่วยเหลือจากกองทัพสหรัฐอเมริกา



6 อันดอร์ร่า
ประเทศมีตำรวจราว 240 นาย ตำรวจที่นี่มีหน้าที่ดูแลความสงบ พวกเขาได้รับการฝึกให้ช่วยเหลือตัวประกันด้วย การเป็นตำรวจ เป็นหน้าที่ของผู้ชายทุกคน หากว่าพวกเขามีอาวุธปืน 
อันดอร์ร่า ฝรั่งเศสและสเปนนั้นมีประวัติศาตร์ร่วมกัน(ถ้าจะว่าจริงๆคงยาวมาก) อันดอร์ราปกครอง ด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาเดียว โดยมีประมุขร่วม (Parliamentary Co-Principality) คือพระราชาคณะ (Bishop) แห่งเมือง Urgell ของสเปน และประธานาธิบดีฝรั่งเศส โดยเป็นประมุขในทางสัญลักษณ์เท่านั้น โดยมีผู้แทนของตนอยู่ในราชรัฐอันดอร์รา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เรียกว่า Vegeur
(พอล่ะชักจะซับซ้อนไปแล้ว)
ในกรณีสงคราม อันดอร์ร่า ที่มีอาณาเขต 181 ตารางไมล์ ผู้ที่จะมาทำหน้าที่ช่วยปกป้องก้อคงไม่ต้องสงสัยเลย สเปนและฝรั่งเศสนั้นเอง แถมทั้งสองประเทศยังเป็นชาติ สมาชิกNATO(North Atlantic Treaty Organization สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ)ซึ่งมีสมาชิก 28 ประเทศ
  


7 เบลาอู ( Palau )
เป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ไปประมาณ 500 กิโลเมตร ได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2537 เป็นหนึ่งในชาติที่ใหม่ที่สุดและมีประชากรน้อยที่สุดในโลก
Palau เป็นเกาะที่มีชะตากรรมคล้ายหมู่เกาะมาร์แชลล์ที่โดนพวกยุโรปเปลี่ยนมือไปเรื่อยตั้งแต่ อังกฤษ สเปน เยอรมนี ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปาเลาจึงกลายเป็นสนามรบระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ภายหลังสงครามสหรัฐอเมริกาเริ่มมีอำนาจแทนญี่ปุ่น ปาเลาต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาเกือบทุกด้าน หลังจากได้รับเอกราช ก็ยังได้รับการช่วยเหลือทางการเงินและการป้องกันจากสหรัฐอเมริกา
แม้จะไม่มีกองทัพ เบลาอูก็มีส่วนของตำรวจที่ตั้งขึ้นเพื่อให้การปกป้องที่จำเป็นต่อพลเรือน แต่หากมีสงคราม เบลูอา ก็จะต้องขอความช่วยเหลือจากภายนอกสำหรับการป้องกันประเทศ เกาะแห่งนี้ มีสถานะเป็นรัฐ associated state ของสหรัฐเช่นเดียวกับ หมู่เกาะมาร์แชลล์ สหรัฐจึงมีพันธกรณีที่จะต้องช่วยปกป้องเกาะแห่งนี้จากการโจมตีของประเทศอื่น
  
รัฐเอกราชซามัว
เป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้
เช่นเดียวกันกับเกาะตอนใต้ของแปซิฟิกอื่นๆ มักจะมีพวกตะวันตกเข้ามาทำปัญหา
มีข้อพิพาทระหว่างสหรัฐ เยอรมันและอังกฤษ ยังผลให้ประเทศเยอรมนีได้ครอบครองส่วนที่เป็นประเทศซามัวในปัจจุบัน ส่วนสหรัฐอเมริกาได้ครอบครองส่วนที่เป็นอเมริกันซามัวในปัจจุบัน สำหรับประเทศอังกฤษก็ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียในซามัวอีกแล้ว ในระยะต่อมาในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซามัวถูกโอนให้มาขึ้นกับประเทศนิวซีแลนด์ จนประกาศเอกราชในปี พ.ศ. 2505 นับเป็นประเทศแรกในแปซิฟิกใต้ที่ได้รับเอกราช
ซามัวมีสนธิสัญญามิตรภาพกับนิวซีแลนด์มาตั้งแต่ปี 1962 หากมีสงคราม ซามัวสามารถขอความช่วยเหลือจากนิวซีแลนด์ได้  แต่ในสนธิสัญญาก็ระบุว่า แต่ละประเทศ สามารถถอนตัวออกจากสนธิสัญญาเมื่อใดก็ได้ หากต้องการ
  

9 สาธารณรัฐคอสตาริกา
เป็นประเทศในภูมิภาคอเมริกากลาง แม้ไม่มีกองกำลังทหารแต่กลับมีเสถียรภาพทางการเมืองสูง ได้ชื่อว่าเป็น "สวิตเซอร์แลนด์ของอเมริกากลาง"
หลังประเทศเจอกับปัญหาสงครามกลางเมือง ประธานาธิบดีโฮเซ ฟิเกเรส เฟร์เรร์ ลงนามในกฏหมายยุบกองทัพ ปัจจุบันประเทศมีหน่วยงานชื่อ ฟูเอร์ซ่า ปุบลิก้า ที่ทำหน้าที่ด้านการรักษากฏหมาย ด้านความมั่นคงทางบก การลาดตระเวณตามพรมแดน และอื่นๆที่เป็นหน้าที่ของตำรวจ
ในกรณีสงคราม สนธิสัญญา  Inter-American Treaty of Reciprocal Assistance ระหว่าง 21 ประเทศในทวีปอเมริกาด้วยกันที่ทำไว้ในปี  1947 คอสตาริก้าสามารถร้องขอความช่วยเหลือจากชาติสมาชิก ซึ่งก็รวมถึง สหรัฐ คิวบา และชิลีได้ในบางระดับ
  


10 หมู่เกาะโซโลมอน
Pearl of Pacific (ไข่มุกแห่งแปซิฟิค) คือฉายาของหมู่เกาะโซโลมอนเพราะมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม และ อุดมสมบูรณ์ และเป็นจุดพักระหว่างทางของการขนส่งสินค้าในมหาสมุทรแปซิฟิค ทำให้เป้าหมายในสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้บุกรุกเข้ามาในเกาะนี้ช่วงต้นของสงคราม แต่กองทัพสหราชอาณาจักรก็สามารถยึดครองดินแดนกลับมาได้อีกครั้งอังกฤษจัดตั้งกองกำลัง British Solomon Islands Protectorate Defense Force เข้ามาดูแลหมู่เกาะ  แต่นับตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี 1978 ประเทศก็ไม่มีกองทัพ ประเทศสามารถจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพมาจนถึงประมาณปี 1998 แต่นับตั้งแต่ปี 1998 - 2006 ประเทศเจอปัญหากับเรื่องพฤติกรรมมิชอบภายในรัฐบาล อาชญากรรม และกรณีพิพาททางด้านเชื้อชาติ และเพื่อเป็นการแก้ปัญหา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์จึงเข้าไปฟื้นฟูสันติภาพ และปลดอาวุธกองกำลังตำรวจติดอาวุธ
ในกรณีที่เกิดสงคราม ไม่มีการกำหนดชัดเจนว่าใครจะมาช่วยหมู่เกาะแห่งนี้ แต่หมู่เกาะโซโลมอน ได้ซื้ออาวุธบางส่วนจากออสเตรเลีย ดังนั้น หากเกิดสงคราม ก็เป็นไปได้ที่ออสเตรเลียอาจจะเป็นประเทศแรกๆที่รุดมาช่วยเหลือ


ดัดแปลงเนื้อหาจาก : http://www.oknation.net/blog/inter/2010/10/05/entry-7

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม