สาระที่ได้จาก โคนัน แต่หลายคนมองข้าม

หลังจากที่ผมเคยเขียนเกี่ยวกับ ความไม่สมเหตุผลของ โคนัน จนหลายคนเลิกติดตาม มาแล้ว
แต่ลองมานึกดูดีๆ สาระ ที่ได้จากเรื่องนี้ก้อมีไม่ใช่น้อย ถือว่าเป็นการ์ตูนที่ให้สาระความรู้ได้มากเลย

เกี่ยวกับเลือด(เอ่อส่วนใหญ่จะเป็นของศพ)
เลือดของคนเราจะแข็งตัวในอุณหภูมิปกติต้องใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที
รอยเลือดของมนุษย์ที่ตกลงพื้น จะมีลักษณะแตกต่างกันตามความสูง ยิ่งสูงวงก็จะยิ่งใหญ่และรัศมีแตกกระจายกว้างมาก
รูมินอล เมื่อฉีดพ่นใส่รอยเลือด แอคทีฟออกซิเจนในเลือดจะเกิดออกซิเดชั่น สารเรืองแสงก็จะเปล่งแสงสีม่วงฟ้าออกมา
Heparin ยาป้องกันเลือดแข็งตัว ปกติแล้วเลือดมักจะแข็งตัวเป็นก้อนในเวลาไม่นานทำให้พกพาไม่สะดวก 
แต่ถ้าผสม Heparin เข้าไปและใส่ไว้ในถุงที่ปิดมิดชิดเป็นถุงเลือด จะสามารถพกพาได้สบาย


เกี่ยวกับการสันนิษฐานเวลาการตายและสาเหตุการตาย
ปลายเท้าเริ่มแข็ง แสดงว่าตายมาหลายชั่วโมงแล้ว (กว่า 7 ชั่วโมง) 
ขากรรไกรยังไม่แข็ง แต่ม่านตาริ่มปิดแล้ว ถ้าดูจากอุณหภูมิร่างกายที่ลดลง แสดงว่าเสียชีวิตได้ 40-50 นาที
กรณีที่เสียชีวิตกระทันหันขณะที่ร่างกายมีการออกกำลังกายมากๆ ในกรณีนั้นกล้ามเนื้อจะเครียด และแข็งตัวง่าย ทำให้ศพแข็งตัวเร็วกว่าการตายแบบปกติ
ริมฝีปากกับปลายมือปลายเท้าเริ่มเปลี่ยนเป็นสีม่วง มีเส้นเลือดแตกในตา เป็นอาการของการเสียชีวิต เนื่องจากขาดอากาศหายใจ 
แต่ถ้าไม่มีทั้งร่องรอยการถูกกัด ไม่มีสภาพของการจมน้ำ หรือแม้แต่ สภาพดิ้นรนทุรนทุราย โอกาสเป็นไปได้จึงมีเพียง ถูกพิษที่ทำให้ระบบประสาทเป็นอัมพาต หายใจไม่ออก จนตายเป็นพิษที่รุนแรง ที่ทำให้ตายได้ในเวลาสั้นๆ 
และการที่ศพยังอุ่นอยู่ กับการที่ร่างกายยังไม่มีส่วนใด แข็งตัวเลย แสดงให้เห็นว่า ศพถูกพบในช่วงเวลาประมาณ 30 นาที หลังการเสียชีวิต 
ปอดมีรูรั่ว (แทงทะลุปอด) ถึงแม้จะสูดลมเข้าไป ปอดก็ไม่ขยายทำให้หายใจไม่ได้ กว่าจะเสียชีวิตก็กินเวลาตั้ง 10-15 นาที ทรมานมากทีเดียว
ปกติร่างกายคนเราหลังจากเสียชีวิตประมาณ 30 นาที - 2 ชั่วโมง ร่างกายจะเริ่มแข็ง 9-12 ชั่วโมง จะแข็งหมดทั้งตัว หลังจากนั้นไป 30 ชั่วโมง ร่างกายจะแข็งขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขีดสุดแล้วจะเริ่มอ่อนตัวลงจน 70 ชั่วโมง ก็จะกลับเป็นอย่างเดิม
ถ้าอุณหภูมิรอบๆศพ สูงประมาณ 35 องศา เวลาในการแข็งตัวและอ่อนตัวของศพจะเร็วขึ้นแค่ 24-30 ชั่วโมง ศพก็เริ่มอ่อนตัวลงแล้ว
ถ้าฝังศพไว้ในดิน ไม่ให้สัมผัสถูกอากาศ อัตราการเน่าเปื่อยจะช้าลงกว่าปกติ 1/8 เท่า เทียบกับในน้ำก็ยังช้ากว่าเท่าตัว
ศพที่ถูกเผา กระดูก กล้ามเนื้อ เอ็น และส่วนต่างๆ ในร่างกายจะเกิดปฏิกิริยากับความร้อนทำให้แข็งตัวและหดตัวเข้า แต่เพราะกล้ามเนื้อที่ใช้ งอแขนขา มีมากกว่าที่ใช้ยึดข้อต่อต่างๆ จึงอยู่ในลักษณะกึ่งๆงอเข้าเหมือนท่าตั้งการ์ดของนักมวย
ศพเย็นแล้ว คงเสียชีวิตมาประมาณ 1 ชั่วโมง
ปกติคนเสียชีวิตตัวจะต้องซีด แต่ถ้าริมฝีปากกับเล็บเป็นสีชมพูอมม่วง แสดงว่าตายด้วยโพแทสเซียมไซยาไนด์(ในเรื่องตายด้วยไอ้นี้เยอะมาก)   
ปกติการสันนิษฐานเวลาตายจะดูจากสีเลือดที่ผิว การแข็งตัวของศพ อุณหภูมิในช่องทวาร ในกรณีที่ศพอยู่ที่ใดที่หนึ่ง อุณหภูมิใดอุณหภูมิหนึ่งที่คงที่ การสันนิษฐานจากเลือดที่ผิวด้านล่างซึ่งถูกน้ำหนักตัวของศพกดทับไว้จึงใช้ไม่ได้ จะตรวจจากการแข็งตัวของกล้ามเนื้อก็ทำไม่ได้ และการที่คลื่นซัดตัวตลอดเวลาทำให้อุณหภูมิในร่างกายเปลี่ยนแปลง อัตราการลดลงของอุณหภูมิในช่องทวารจึงต่างไปจากปกติ การสันนิษฐานเวลาที่แน่นอนจึงระบุไม่ได้ 


เกี่ยวกับสารพิษ
จิโอโซเดียมซัลเฟต เป็นน้ำยาฟอกขาวที่แพทย์มักใช้ล้างสีของน้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นยาล้างสภาพความเป็นพิษของโปแตสเซียมไซยาไนด์ได้อีกด้วย
อโคนิซิน เป็นพวกที่มีฤทธิ์ทำให้ระบบประสาทเป็นอัมพาต สกัดได้จากใบหรือรากของต้นอโคไนท์ เป็นยาพิษที่ร้ายแรงมาก หากเข้าสู่ร่างกายเพียง 2 มก. จะทำให้อวัยวะภายในถูกทำลายเสียชีวิตในเวลาไม่กี่นาที มันมีอยู่มากตามป่าเขา คนส่วนใหญ่เขาจะเอาส่วนที่เป็นพิษออก เอาที่เหลือไปทำยาโด๊ป
สารทันนินในน้ำชา ใช้ล้างปากแผลระงับพิษงู เป็นวิธีปฐมพยาบาลคนที่ถูกงูทะเลกัดได้ดีที่สุด คนที่ใช้ปากดูดพิษงูออก ก็ต้องใช้น้ำชา กลั้วพิษงูออกจากปากด้วยเหมือนกัน
โพแทสเซียมไซยาไนด์ ต่างกับพิษชนิดอื่น ถ้าดื่มเข้าไปจะทำให้การส่งผ่านอิเล็กตรอนในเซลล์ถูกทำลาย เอนไซม์ในกระแสเลือดจะไม่ทำงาน แทนที่ตัวจะซีดจึงกลับมีสีเลือด และที่ปากจะมีกลิ่นอัลมอนด์ โพแทสเซียมไซยาไนด์เมื่อแช่แข็งแล้วจะละลายยาก
Tetrodotoxin = พิษปักเป้า ชื่อย่อคือ TTX เป็นพิษที่น่าทึ่งมาก ปริมาณแค่ 0.5 - 1 mg. หรือ ประมาณ 1/200 ของโปแตสเซียมไซยาไนด์ ก็ทำให้คนตายได้ ถ้าเข้าร่างกายทางปาก พิษจะกระจายช้า โอกาสช่วยชีวิตได้มีอยู่มาก แต่ถ้าเข้าสู่ร่างกายทางกระแสเลือดโดยตรง ชั่วเวลาสั้นๆ ระบบประสาทจะเป็นอัมพาต ระบบหายใจจะหยุดทำงาน แล้วก็ตายในที่สุด

ที่มาจาก :http://punica.co.th/bbs/viewthread.php?tid=5222



ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม